เกี่ยวกับ
สืบเนื่องจากที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ องค์การสหประชาชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ ๕๔ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลของสหประชาชาติ และกำหนดให้มีการจัดกิจกรรมในวันดังกล่าว ณ สำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขา ในเดือนพฤษภาคมของทุกปี ประเทศไทยโดยคณะสงฆ์ รัฐบาล และประชาชน จึงได้จัดกิจกรรมเพื่อเฉลิมฉลองในวันดังกล่าวมาตลอดทุกปีมิได้ขาดจนถึงปัจจุบันทั้งระดับประเทศและระดับท้องถิ่น จนถึงระดับนานาชาติ โดยในระดับนานาชาตินั้นคณะกรรมการจัดงานนานาชาติ (IOC) ซึ่งได้ประชุมกันในวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๑ ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยเห็นพ้องต้องกันให้จัดตั้งสมาคมสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก (ICDV) เพื่อดำเนินการจัดงานเฉลิมฉลองให้มีเอกภาพและมีประสิทธิภาพ
สำหรับในการจัดงานวิสาขบูชาโลก ครั้งที่ ๑๗ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๕ นี้ คณะกรรมการสมาคมสภาสากลวิสาขบูชาโลก (International Council for the Day of Vesak) ซึ่งได้รับการอนุมัติให้มีสถานะเป็นที่ปรึกษาพิเศษของคณะมนตรี เศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ ในคราวประชุมเมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ มีฉันทามติร่วมกันในการจัดงานวันวิสาขบูชาโลก ครั้งที่ ๑๗ ในหัวข้อ “กรุณาธรรมในยามวิกฤต: หลักปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาเพื่อเยี่ยวยาสังคมโลก” (Compassion in Times of Crises: Buddhist Practices in Healing Global Community) เพื่อดำเนินกิจกรรมเฉลิมฉลอง วันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก โดยกำหนดเป้าหมายผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้นำศาสนาและพุทธศาสนิกชน จำนวน ๓,๐๐๐ รูป/คน จาก ๘๕ ประเทศ โดยมีการจัดงาน ดังต่อไปนี้:-
- วันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ งานสัมมนานานาชาติภายใต้หัวข้อย่อย “พุทธวิธีรักษาสุขภาพจิต กาย และสังคมในสถานการณ์โรคระบาด” จัดโดย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ งานสัมมนานานาชาติภายใต้หัวข้อย่อย “หลักปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพและความสามัคคีในยามเกิดความขัดแย้ง” จัดโดย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในรูปแบบการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom) Link: https://zoom.us/j/9989933546 เริ่มเปิด ๐๘.๐๐ น.
- วันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ งานเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร และในรูปแบบการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom) Link: https://zoom.us/j/9989933546 เริ่มเปิด ๐๘.๐๐ น.
๔. วัตถุประสงค์
๔.๑ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก
๔.๒ เพื่อสร้างความร่วมมืออันดีระหว่างชุมชนชาวพุทธและองค์กรชาวพุทธตั้งแต่ระดับประเทศถึงนานาชาติตามนโยบายของรัฐบาล
๔.๓ เพื่อร่วมกันสร้างทางเลือกในการประยุกต์ใช้พระพุทธศาสนาเพื่อประโยชน์สุขของมวลมนุษยชาติ
๔.๔ เพื่อร่วมกันประกาศหลักการทางพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นอารยธรรมสำคัญของโลกผ่านกิจกรรมทางวิชาการ ศาสนพิธีและวิถีชีวิตชุมชน
๕. ลักษณะกิจกรรม
วันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕
- พิธีเปิดการประชุมและสัมโมทนียกถาเปิดกิจกรรมวิสาขบูชานานาชาติ
- ปาฐกถาพิเศษภาษาอังกฤษ เรื่อง How do Buddhists handle COVID-19? (ชาวพุทธปฏิบัติตนอย่างไรต่อโควิด-19)
- ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “พระธรรม ดิสรัปชั่น และการป้องกัน : มิติและการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา ต่อโควิด-19” (Dhamma, Disruption, and Defense: COVID-19 in Buddhist Perspective and Practice)
- การเสวนากลุ่ม เรื่อง “ยุคหลังโควิด-19: พระพุทธศาสนาและการพัฒนาตามธรรม” (Post-COVID-19 Thoughts: Buddhism and Sustainable Development)
- ถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์สันติภาพในชุมชนและสังคม
วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕
- พิธีเปิดการประชุมและสัมโมทนียกถาเปิดกิจกรรมวิสาขบูชานานาชาติ
- ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “วิสาขบูชา: ส่งมอบพุทธปัญญาสู่สันติภาพโลก” (Vesak Day: Buddhist Wisdom to World Peace)
- การเสวนากลุ่ม เรื่อง “หลักปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพและความสามัคคีในยามเกิดความขัดแย้ง” (Buddhist Practices for Peace and Solidarity in Times of Conflict)
- การถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์สันติภาพในชุมชนและสังคม
วันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕
- จัดการประชุมและกิจกรรมนานานาชาติ ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานครและในรูปแบบการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom)
- พิธีเปิดการประชุมและกิจกรรมพระพุทธศาสนานานาชาติการสัมมนาทางวิชาการระดับนานาชาติ เรื่อง “กรุณาธรรมในยามวิกฤต: หลักปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาเพื่อเยี่ยวยาสังคมโลก” (Compassion in Times of Crises: Buddhist Practices in Healing Global Community)
- การอ่านสุนทรพจน์ของบุคคลสำคัญและผู้นำชาวพุทธทั้งชาวไทยและต่างประเทศ
- การสัมมนาทางวิชาการระดับนานาชาติในหัวข้อ “พุทธวิธีรักษาสุขภาพจิต กาย และสังคมในสถานการณ์โรคระบาด” (Buddhist Approaches to Health of Mind, Body and Communities during Pandemic) และ “หลักปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพและความสามัคคีในยามเกิดความขัดแย้ง” (Buddhist Practices for Peace and Solidarity in Times of Conflict) และนำเสนอผลสรุปการสัมมนาหัวข้อย่อยทางวิชาการ
- การประกาศปฏิญญากรุงเทพ ประจำปี ๒๕๖๕
๖. เป้าหมายผลผลิต
๖.๑ เป้าหมายเชิงคุณภาพ
ได้ร่วมเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากล สหประชาชาติ พร้อมกับสำนักงานใหญ่ สหประชาชาติ และเฉลิมพระเกียรติ อันแสดงถึงความร่วมมืออันดีของชุมชนชาวพุทธและองค์กรชาวพุทธทั่วโลกตั้งแต่ระดับประเทศถึงนานาชาติตามนโยบายของรัฐบาล ได้ร่วมกันสร้างทางเลือกในการประยุกต์ใช้พระพุทธธรรมกับวิกฤติของโลก และ ได้ร่วมกันประกาศหลักการทางพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นอารยธรรมสำคัญของโลกผ่านกิจกรรมทางวิชาการ ศาสนพิธีและวิถีชีวิตชุมชนไปสู่เวทีโลก
๖.๒ เป้าหมายเชิงปริมาณ
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมและประชุมวิชาการพระพุทธศาสนานานาชาติ จาก ๘๕ ประเทศ จำนวน ๓,๐๐๐ รูป/คน ดังนี้
๖.๒.๑ ผู้นำ นักวิชาการ และนักปราชญ์ด้านพระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานจากต่างประเทศ
๖.๒.๒ ผู้เข้าร่วมประชุมจากต่างประเทศ
๖.๒.๓ ผู้แทนมหาเถรสมาคม พระเถรานุเถระเจ้าคณะพระสังฆาธิการ
๖.๒.๔ คณะรัฐมนตรี ทูตานุทูต นักวิชาการ ด้านพระพุทธศาสนา
และผู้แทนองค์กรชาวพุทธ จากประเทศไทย
๖.๒.๕ พุทธศาสนิกชนจากประเทศไทย
๖.๒.๖ สื่อมวลชนจากประเทศไทยและต่างประเทศ
๖.๒.๗ ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่นิสิตและนักศึกษา จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
๗.๓ เป้าหมายเชิงเวลา
ระยะเวลาในการจัดงาน จำนวน ๓ วัน วันศุกร์ที่ ๑๑-๑๓ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ดังนี้
- วันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ งานสัมมนานานาชาติภายใต้หัวข้อย่อย “พุทธวิธีรักษาสุขภาพจิต กาย และสังคมในสถานการณ์โรคระบาด” จัดโดย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ งานสัมมนานานาชาติภายใต้หัวข้อย่อย “หลักปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพและความสามัคคีในยามเกิดความขัดแย้ง”จัดโดย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- วันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ งานเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร และในรูปแบบการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom)
๘. ผู้สนับสนุนการจัดงาน
๘.๑ รัฐบาลไทย
๘.๒ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
๘.๓ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
๘.๔ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
๘.๕ สมาคมสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก (ICDV) และสมาคมมหาวิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ
IABU)
๘.๖ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
๘.๗ หน่วยงานภาคเอกชนและผู้มีจิตศรัทธาทั่วไป
๙. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๙.๑ ได้ร่วมเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากล สหประชาชาติ พร้อมกับสำนักงานใหญ่ สหประชาชาติ
๙.๒ มีความร่วมมืออันดีของชุมชนชาวพุทธและองค์กรชาวพุทธทั่วโลกตั้งแต่ระดับประเทศถึงนานาชาติตามนโยบายของรัฐบาล
๙.๓ ได้ร่วมกันสร้างทางเลือกในการประยุกต์ใช้พุทธธรรมกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ
๙.๔ ได้ร่วมกันประกาศหลักการทางพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นอารยธรรมสำคัญของโลกผ่านกิจกรรมทางวิชาการ ศาสนพิธีและวิถีชีวิตชุมชนไปสู่เวทีโลก