เกี่ยวกับ

สืบเนื่องจากที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ องค์การสหประชาชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ ๕๔ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลของสหประชาชาติ และกำหนดให้มีการจัดกิจกรรมในวันดังกล่าว ณ สำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขา ในเดือนพฤษภาคมของทุกปี ประเทศไทยโดยคณะสงฆ์ รัฐบาล และประชาชน จึงได้จัดกิจกรรมเพื่อเฉลิมฉลองในวันดังกล่าวมาตลอดทุกปีมิได้ขาดจนถึงปัจจุบันทั้งระดับประเทศและระดับท้องถิ่น จนถึงระดับนานาชาติ  โดยในระดับนานาชาตินั้นคณะกรรมการจัดงานนานาชาติ (IOC) ซึ่งได้ประชุมกันในวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๑ ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยเห็นพ้องต้องกันให้จัดตั้งสมาคมสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก (ICDV) เพื่อดำเนินการจัดงานเฉลิมฉลองให้มีเอกภาพและมีประสิทธิภาพ

สำหรับในการจัดงานวิสาขบูชาโลก ครั้งที่ ๑๗ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๕ นี้ คณะกรรมการสมาคมสภาสากลวิสาขบูชาโลก (International Council for the Day of Vesak) ซึ่งได้รับการอนุมัติให้มีสถานะเป็นที่ปรึกษาพิเศษของคณะมนตรี เศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ ในคราวประชุมเมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ มีฉันทามติร่วมกันในการจัดงานวันวิสาขบูชาโลก ครั้งที่ ๑๗  ในหัวข้อ  “กรุณาธรรมในยามวิกฤต: หลักปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาเพื่อเยี่ยวยาสังคมโลก” (Compassion in Times of Crises: Buddhist Practices in Healing Global Community)  เพื่อดำเนินกิจกรรมเฉลิมฉลอง วันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก  โดยกำหนดเป้าหมายผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้นำศาสนาและพุทธศาสนิกชน จำนวน ๓,๐๐๐ รูป/คน จาก ๘๕ ประเทศ โดยมีการจัดงาน ดังต่อไปนี้:-

  • วันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ งานสัมมนานานาชาติภายใต้หัวข้อย่อย “พุทธวิธีรักษาสุขภาพจิต กาย และสังคมในสถานการณ์โรคระบาด” จัดโดย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ งานสัมมนานานาชาติภายใต้หัวข้อย่อย “หลักปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพและความสามัคคีในยามเกิดความขัดแย้ง” จัดโดย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในรูปแบบการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom) Link: https://zoom.us/j/9989933546 เริ่มเปิด ๐๘.๐๐ น.
  • วันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ งานเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร และในรูปแบบการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom) Link: https://zoom.us/j/9989933546 เริ่มเปิด ๐๘.๐๐ น.

 ๔. วัตถุประสงค์ 

๔.๑ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก

๔.๒ เพื่อสร้างความร่วมมืออันดีระหว่างชุมชนชาวพุทธและองค์กรชาวพุทธตั้งแต่ระดับประเทศถึงนานาชาติตามนโยบายของรัฐบาล

๔.๓ เพื่อร่วมกันสร้างทางเลือกในการประยุกต์ใช้พระพุทธศาสนาเพื่อประโยชน์สุขของมวลมนุษยชาติ

๔.๔ เพื่อร่วมกันประกาศหลักการทางพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นอารยธรรมสำคัญของโลกผ่านกิจกรรมทางวิชาการ ศาสนพิธีและวิถีชีวิตชุมชน

 

. ลักษณะกิจกรรม

วันที่ ๑๑ พฤษภาคม .ศ. ๒๕๖๕

  • พิธีเปิดการประชุมและสัมโมทนียกถาเปิดกิจกรรมวิสาขบูชานานาชาติ
  • ปาฐกถาพิเศษภาษาอังกฤษ เรื่อง How do Buddhists handle COVID-19? (ชาวพุทธปฏิบัติตนอย่างไรต่อโควิด-19)
  • ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “พระธรรม ดิสรัปชั่น และการป้องกัน : มิติและการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา ต่อโควิด-19” (Dhamma, Disruption, and Defense: COVID-19 in Buddhist Perspective and Practice)
  • การเสวนากลุ่ม เรื่อง “ยุคหลังโควิด-19: พระพุทธศาสนาและการพัฒนาตามธรรม” (Post-COVID-19 Thoughts: Buddhism and Sustainable Development)
  • ถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์สันติภาพในชุมชนและสังคม

วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕

  • พิธีเปิดการประชุมและสัมโมทนียกถาเปิดกิจกรรมวิสาขบูชานานาชาติ
  • ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “วิสาขบูชา: ส่งมอบพุทธปัญญาสู่สันติภาพโลก” (Vesak Day: Buddhist Wisdom to World Peace)
  • การเสวนากลุ่ม เรื่อง “หลักปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพและความสามัคคีในยามเกิดความขัดแย้ง” (Buddhist Practices for Peace and Solidarity in Times of Conflict)
  • การถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์สันติภาพในชุมชนและสังคม

วันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕

  • จัดการประชุมและกิจกรรมนานานาชาติ ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานครและในรูปแบบการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom)
  • พิธีเปิดการประชุมและกิจกรรมพระพุทธศาสนานานาชาติการสัมมนาทางวิชาการระดับนานาชาติ เรื่อง “กรุณาธรรมในยามวิกฤต: หลักปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาเพื่อเยี่ยวยาสังคมโลก(Compassion in Times of Crises: Buddhist Practices in Healing Global Community)
  • การอ่านสุนทรพจน์ของบุคคลสำคัญและผู้นำชาวพุทธทั้งชาวไทยและต่างประเทศ
  • การสัมมนาทางวิชาการระดับนานาชาติในหัวข้อ “พุทธวิธีรักษาสุขภาพจิต กาย และสังคมในสถานการณ์โรคระบาด” (Buddhist Approaches to Health of Mind, Body and Communities during Pandemic) และ “หลักปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพและความสามัคคีในยามเกิดความขัดแย้ง” (Buddhist Practices for Peace and Solidarity in Times of Conflict) และนำเสนอผลสรุปการสัมมนาหัวข้อย่อยทางวิชาการ
  • การประกาศปฏิญญากรุงเทพ ประจำปี ๒๕๖๕

๖. เป้าหมายผลผลิต

        ๖.๑ เป้าหมายเชิงคุณภาพ

ได้ร่วมเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากล สหประชาชาติ พร้อมกับสำนักงานใหญ่ สหประชาชาติ และเฉลิมพระเกียรติ อันแสดงถึงความร่วมมืออันดีของชุมชนชาวพุทธและองค์กรชาวพุทธทั่วโลกตั้งแต่ระดับประเทศถึงนานาชาติตามนโยบายของรัฐบาล  ได้ร่วมกันสร้างทางเลือกในการประยุกต์ใช้พระพุทธธรรมกับวิกฤติของโลก และ ได้ร่วมกันประกาศหลักการทางพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นอารยธรรมสำคัญของโลกผ่านกิจกรรมทางวิชาการ ศาสนพิธีและวิถีชีวิตชุมชนไปสู่เวทีโลก

       ๖.๒ เป้าหมายเชิงปริมาณ

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมและประชุมวิชาการพระพุทธศาสนานานาชาติ จาก ๘๕ ประเทศ จำนวน ๓,๐๐๐ รูป/คน ดังนี้

๖.๒.๑ ผู้นำ นักวิชาการ และนักปราชญ์ด้านพระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานจากต่างประเทศ
๖.๒.๒ ผู้เข้าร่วมประชุมจากต่างประเทศ
๖.๒.๓ ผู้แทนมหาเถรสมาคม พระเถรานุเถระเจ้าคณะพระสังฆาธิการ
๖.๒.๔ คณะรัฐมนตรี ทูตานุทูต นักวิชาการ ด้านพระพุทธศาสนา

และผู้แทนองค์กรชาวพุทธ จากประเทศไทย
๖.๒.๕ พุทธศาสนิกชนจากประเทศไทย
๖.๒.๖ สื่อมวลชนจากประเทศไทยและต่างประเทศ
๖.๒.๗ ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่นิสิตและนักศึกษา จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗.๓  เป้าหมายเชิงเวลา

ระยะเวลาในการจัดงาน จำนวน ๓ วัน วันศุกร์ที่ ๑๑-๑๓ พฤษภาคม ๒๕๖๕  ดังนี้

  • วันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ งานสัมมนานานาชาติภายใต้หัวข้อย่อย “พุทธวิธีรักษาสุขภาพจิต กาย และสังคมในสถานการณ์โรคระบาด” จัดโดย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ งานสัมมนานานาชาติภายใต้หัวข้อย่อย “หลักปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพและความสามัคคีในยามเกิดความขัดแย้ง”จัดโดย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • วันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ งานเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร และในรูปแบบการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom)

. ผู้สนับสนุนการจัดงาน

        ๘.๑ รัฐบาลไทย

๘.๒ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

๘.๓ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

๘.๔ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

๘.๕ สมาคมสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก (ICDV) และสมาคมมหาวิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ
IABU)

๘.๖ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

๘.๗ หน่วยงานภาคเอกชนและผู้มีจิตศรัทธาทั่วไป

.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๙.๑ ได้ร่วมเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากล สหประชาชาติ พร้อมกับสำนักงานใหญ่ สหประชาชาติ

๙.๒ มีความร่วมมืออันดีของชุมชนชาวพุทธและองค์กรชาวพุทธทั่วโลกตั้งแต่ระดับประเทศถึงนานาชาติตามนโยบายของรัฐบาล

๙.๓ ได้ร่วมกันสร้างทางเลือกในการประยุกต์ใช้พุทธธรรมกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ

๙.๔ ได้ร่วมกันประกาศหลักการทางพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นอารยธรรมสำคัญของโลกผ่านกิจกรรมทางวิชาการ ศาสนพิธีและวิถีชีวิตชุมชนไปสู่เวทีโลก

Close